ห้องพอเพียง

วอเตอร์เครส (Watercress)
    วอเตอร์เครส หรือที่เราคนไทยเรียกว่า “สลัดน้ำ” เป็นผักในตระกูลดอก กะหล่ำ ซึ่งมีลักษณะเป็นผักใบเขียว นิยมนำมาทำเป็นผักสลัด หรืออาจนำมาทานเป็นผักแกล้ม กับน้ำพริก ตลอดจนเป็นส่วนประกอบของอาหารเมนูต่างๆ ตามใจชอบ แต่ทั้งนี้ในเรื่องคุณค่าทางอาหารแล้ว มีประโยชน์ เหลือเชื่อเลยทีเดียว ถ้าเทียบจากน้ำหนักที่เท่ากันแล้ว วอเตอร์เครสประกอบด้วยวิตามินซีมากกว่าส้ม มีแคลเซียม มากกว่านมทุกชนิด มีธาตุเหล็กมากกว่าผักขม  และยังประกอบด้วยสารต้านอนุมูลอิสระ ที่ช่วยป้องกันอันตราย ที่เกิดจาก สารอนุมูลอิสระอีกด้วย

    จากงานวิจัยของศาสตาจารย์โรแลน มหาวิทยาลียอัลสเตอร์ ที่ลงตีพิมพ์ในวารสารโภชนาการ   และมะเร็ง พบว่าสาร บางอย่างในวอเอตร์เครสสามารถยับยั้ง และป้องกัน การเกิดมะเร็งได้ในการทดลองพบว่า  พบว่า สารสกัดจากวอเตอร์เครสจะช่วยลดการทำลายDNA ของเซลล์บริเวณลำไส้ ที่จะนำไปสู่การเกิดมะเร็ง นอกจากนี้ยังช่วยลดการโตของเซลล์มะเร็งลำไส้ใหญ่ และช่วยยับยั้งการแพร่กระจายของมะเร็ง ไปยังบริเวณต่างๆ ได้อีกด้วย

    สารประกอบในวอเตอร์เครสที่สำคัญ คือ กลูโคซิโนเลต พีโนลิก และฟลาโวนอย เมื่อคุณเคี้ยว หรือ หั่นวอเอตร์เครส  สารกลูโคซิโนเลตจะแตกตัวเป็น ไอโซไทโอไซยาเนต หนึ่งในนั้นคือ PEITC (พีนิลเลตทิล ไอโซไทโอไซยาเนต) ซึ่งจากงานวิจัยมากกว่า 50 งานพบว่ามีฤทธิ์ยับยั้งและป้องการเกิดมะเร็ง 

    จากงานวิจัยของศาสตราจารย์สตีเฟน ในอเมริกาพบว่า การบริโภควอเตอร์เครสจะช่วยลดอันตราย ในการเกิดมะเร็งที่เกิดจากควัน บุหรี่ และยังช่วยป้องกันสารพิษต่างๆ ที่เราได้รับทางการกินซึ่งเป็นสาเหตุให้เกิด มะเร็ง

วอเตอร์เครสปลูกในถุงดำ

    นอกจากสาร PEITC แล้ววอเตอร์เครสยังประกอบด้วย สารอาหารที่จำเป็นต่อร่างกายจำนวนมาก ดังจะเห็นได ้จากตารางเปรียบเทียบสารอาหารของ วอเตอร์เครส กับผักชนิดอื่น
ชื่อผัก
โพทัสเซียม
(*330 มิลลิกรัม)
เหล็ก
(*12 มิลลิกรัม)
แคลเซียม
(*1000 มิลลิกรัม)
วอเตอร์เครส
330
1.8
300
แอสพารากัส
-
-
21
บร็อคโคลี
325
1.3
130
กะหล่ำปลี
246
0.5
46
แครอท
-
0.8
39
เซเลอรี่
-
0.5
50
แตงกวา
-
0.3
10
หัวผักกาด
-
0.5
22
ผักกาดใบ
290
1.1
62
เรดิช
-
1.0
37
ผักโขม
558
3.0
81

แปลงวอเตอร์เครสที่บ้าน ผอ.วุฒิ (จังหวัดปราจีนบุรี)
ชื่อผัก
วิตามินเค
(*330 มก.)
วิตามินเอ
( * 3000I.U.)
วิตามินบี1
(*1.5มก.)
วิตามินบี3
(*1.6มก.)
วิตามินซี
( *75มก.)
วอเตอร์เครส
250
4530
0.08
0.169
65.6
แอสพารากัส
85
1000
0.16
0.17
33
บร็อคโคลี
205
1500
0.09
0.21
118
กะหล่ำปลี
-
80
0.07
0.26
52
แครอท
-
13000
0.07
0.06
52
เซเลอรี่
-
-
0.03
0.04
7
แตงกวา
-
360
0.04
0.09
8
หัวผักกาด
-
540
0.06
0.07
8
ผักกาดใบ
2
1620
0.07
0.07
18
เรดิช
-
30
0.04
0.04
34
ผักโขม
400
9420
0.12
0.34
50
* หมายถึงปริมาณที่แนะนำให้บริโภคใน 1 วัน

แปลงวอเตอร์เครสอินทรีย์  ที่จังหวัดปราจีนบุรี
   เมื่อวันที่ 7 เมษายน 2551 พวกเราชุมชนเกษตรพอเพียง (ออนไลน์) มีโอกาสเดินทางไปท่องเที่ยวเชิงเกษตร  ครั้งที่ 1  ณ จังหวัดปราจีนบุรี  และมีโอกาสได้แวะไปเยี่ยม ผอ.วุฒิ  ที่บ้้าน  พร้อมกับได้ชมแปลงปลูกวอเตอร์เครส แบบอินทรีย์  โดยอาศัยหลักพึ่งพิงธรรมชาติ  ไม่ใช้สารเคมีทุกชนิด  ปัจจุบันสามารถขายส่งให้กับโรงพยาบาล เจ้าพระยาอภัยภูเบศร์  ของจังหวัดปราจีนบุรี  ราคาส่งกิโลกรัมละ 120 บาท .... ด้วยคุณสมบัติพิเศษของผักชนิดนี้ ทางโรงพยาบาลฯ นำไปปรุงเป็นอาหารสำหรับผู้ป่วยพิเศษ (มะเร็ง) ปัจจุบันจะต้องตัดส่งให้กับโรงพยาบาล ทุกอาทิตย์ๆ ละ 10 กิโลกรัมขึ้นไป

ผอ.วุฒิ  นำเที่ยวชมสวนวอเตอร์เครสหลังบ้าน
การปลูกวอเตอร์เครส
   ผักชนิดนี้เป็นผักที่เจริญเติบโตเร็วและชอบน้ำมาก ไม่ชอบแดดจัด ดังนั้นสภาพพื้นที่ปลูกจะต้องมุงด้วย ตาข่ายพรางแสงอย่างน้อย 80% วิธีการปลูกจะใช้วิธีการปักชำ โดยใช้กรรไกรคม ๆ ตัดยอด แม่พันธุ์ผักวอเตอร์เครสให้มีความยาว 2 นิ้ว หรือให้มีจำนวนข้อประมาณ 5 ข้อ การปักชำคล้ายกับ การดำนาคือเมื่อปักยอดพันธุ์ลงดินไปแล้วกดดินรอบ ๆ ให้แน่น 1 หลุมจะใช้ยอดพันธุ์ประมาณ 5-10 ยอด ระยะปลูกใช้ประมาณ 1 คืบมือ X 1 คืบมือ หลังจากปลูกไปได้เพียง 1 เดือน จะตัดยอดขายได้ โดยตัดยอดให้มีความยาวประมาณ 2 นิ้ว  ในการปลูกวอเตอร์เครสแต่ละรุ่นจะเก็บเกี่ยวยอดได้   ราว 5 ครั้ง ถ้าทำแปลงปลูกขนาดความกว้างและความยาวของแปลง 2 เมตร และ 6 เมตร จะเก็บผักวอเตอร์เครสได้ น้ำหนักเฉลี่ย 50 กิโลกรัม
    ข้อควรระวังในขณะที่บรรจุยอดผักวอเตอร์เครสลงในถุงไม่ควรให้มีเศษใบที่ร่วง หรือใบที่หลุดออกจากยอด ติดไป ในถุงด้วย เพราะจะเป็นต้นเหตุให้อายุของการวางตลาดน้อยลง   (เศษของใบวอเตอร์เครสจะเน่าก่อน และทำให้ส่วนอื่น ๆ เน่าตามไปด้วย)


อธิบายวิธีเตรียมดินและวิธีปลูกวอเตอร์เครส
การดูแลรักษาวอเตอร์เครส
    วอเตอร์เครส  เป็น
ผักที่ชอบธรรมชาติมากและผลิตในรูปแบบเกษตรอินทรีย์ในการให้ ปุ๋ยจะให้ปุ๋ยหมัก, ปุ๋ยคอกเก่าและปุ๋ยน้ำหมักชีวภาพเป็นหลัก จะได้ต้นผักวอเตอร์เครสที่ยอดอวบอ้วนและใบใหญ่เขียว ด้วย จากที่ได้กล่าวมาแล้วในข้างต้นว่าผักชนิดนี้จะชอบน้ำมาก เกษตรกรจะต้องให้น้ำทุกวัน โดยเฉพาะช่วงแรก ของการปักชำ เพื่อให้ต้นตั้งตัวและรากออกได้เร็ว ปัญหาในการปลูก ที่พบส่วนใหญ่จะพบในช่วงฤดูฝน คือโรคที่เกิดจากเชื้อราทำให้ยอดเป็นสีแดง ใช้วิธีการตัดทิ้งเพื่อให้แตกยอดออกมาใหม่

เปิดโอกาสให้สมาชิกได้สอบถามอย่างเต็มที่

วอเตอร์เครสในถุงดำ  ปลูกในกรุงเทพฯ ผลิตผลที่ได้รับจาก ผอ.วุฒิ

วอเตอร์เครสปลูกในถุงดำ  อายุประมาณ 40 วัน

วอเตอร์เครส  ปลูกง่าย  ตายยาก  แถมโตไวอีกต่างหาก
   หลังจากได้เยี่ยมชม  พร้อมได้รับการอธิบายการปลูกวอเตอร์เครสอย่างละเอียด จาก ผอ.วุฒิ แล้ว  พวกเรายังได้ รับพันธุ์วอเตอร์เครส  จากท่านมาปลูกคนละหลายต้น  ปัจจุบันสามารถเก็บผลผลิตได้แล้ว ซึ่งต้นพันธุ์เดิมมาจาก จังหวัดลพบุรี  ปัจจุบันที่ลพบุรีมีชื่อเสียงเรื่องการปลูกวอเตอร์เครสอยู่แล้ว  วอเตอร์เครสสายพันธุ์นี้ มาจากประเทศ ออสเตรเลีย  (ที่มา : นสพ.เดลินิวส์)
แหล่งข้อมูลอ้างอิง :
นสพ.เดลินิวส์
www.goodhealth.co.th



กิจกรรมท่องเที่ยวเชิงเกษตร  จังหวัดปราจีนบุรี  ครั้งที่ 1
ภาพจากบ้านพี่วุฒิกิจกรรมท่องเที่ยวเชิงเกษตร  ณ  จังหวัดปราจีนบุรี  ครั้งที่  1  เริ่มต้นจากการที่พวกเราได้ไปร่วมประชุม วางแผนจัดตั้งตลาดเกษตรอินทรีย์  ณ  มูลนิธิรักบ้านเกิด  นับเป็นจุดเล็กๆ ที่ทำให้พวกเราได้ริเริ่มความคิด  และกิจกรรมดีๆ ที่จะทำร่วมกัน  โดยสิ่งเดียวที่พวกเราทุกคนมีอยู่ก็คือ  "ใจรักงานเกษตร" และที่ลืมไ่ด้ก็คือ "เราเป็นลูกหลานชาวเกษตรกร" อันเป็นอาชีพอันน่าภาคภูมิใจของบรรพบุรุษของเรา ...
พวกเราเดินทางกันในวันที่ 7 เมษายน 2551 (ลืมบอกว่า งานนี้พี่สมชาย  เป็นหัวเรือใหญ่นะครับ .. )

   เช้าวันที่ 7 เมษายน 2551 ได้ฤกษ์เดินทาง เรานัดกัน เวลา 06.00 น.  โดยใช้รถยนต์ของพี่ทักษ์  คันที่เห็นในภาพครับ  สมาชิกร่วมเดินทางทั้งหมด 7 ท่านด้วยกัน  เวลา 08.00 น. ก็ได้เวลาวิ่งออกจากกรุงเทพฯ  ผ่านไปรังสิต - นครนายก  และแวะทานข้าวที่ จังหวัดนครนายก  จากนั้นก็เดินทางต่อไปถึงจุดหมายแรกคือ  "สวนวันเพ็ญ" ซึ่งเป็นเป้าหมายหลัก  ของการทำเกษตรแบบชีวภาพ

คุณวันเพ็ญ  สนลอย  เจ้าของสวนวันเพ็ญและหมอดินอาสา
   ตลอดระยะเวลาการเดินทาง  พี่สมชาย  ทำหน้าที่ประสานงานกับพี่วันเพ็ญตลอด เพราะไม่เคยไปกันเลยครับ มีบ้างที่ขับรถเลยทางเข้าสวน  แต่ก็ไม่ใช่ปัญหา  กลับรถได้  อิ อิ ...  กว่าจะเข้าไปสวนได้เวลาก็ปาเข้าเกือบ 10 โมงแล้วครับ  พอเข้าไปถึงสวนก็รู้สึกถึงความร่มรื่นของสวนแห่งนี้  บรรยากาศที่สดชื่น  ปราศจากเสียงรบกวน และกลิ่นควันมลพิษ......................
   พวกเราใช้เวลาในการชมสวนของพี่วันเพ็ญค่อนข้างนาน  รวมๆ แล้วเกือบ 4 ชั่วโมง  โดยได้รับความอนุเคราะห์ จากพี่เพ็ญ  เจ้าของสวน นำชมสวนด้วยตัวเอง  เพราะปกติแล้วโอกาสแบบนี้จะค่อนข้างหายาก  เนื่องจากพี่เพ็ญ ต้องทำหน้าที่เป็นวิทยากรบรรยาย  และฝึกอบรมเกษตรกร  จากสถานที่ต่างๆ ที่ต้องการมาศึกษาดูงาน 
   เริ่มต้นด้วยการก้าวเข้าสวน  ช่วงเืดือนเมษายน  เป็นช่วงเวลาของมะปราง  มะม่วง  และมะไฟ  ออกสู่ตลาด  เราจึงได้มีโอกาสได้ชิมผลไม้เหล่านี้มาเป็นพิเศษ  ครับ .... สวนวันเพ็ญ  มีทั้งหมดประมาณ 18 ไร่ (ถ้าผิดก็ขออภัยด้วยนะครับ)  จากแรกเริ่มต้นเพียง 3 ไร่เศษๆ  ต่อมาได้ขยายพื้นที่ซื้อที่ดินเพิ่มาเรื่อยๆ  จนมีที่ดินหลายไร่ดังกล่าว
   รายได้ของสวนวันเพ็ญ  มาจากหลายทางครับ  แต่หลักๆ คือ  มาจากการทำปุ๋ยน้ำชีวภาพสูตรต่างๆ ขายให้กับหน่วยงานราชการ  และบริษัทเอกชน  ซึ่งมารับไปบรรจุภัณฑ์ขาย  (ขออภัยผมจำชื่อบริษัทฯ ไม่ได้) ซึ่งหากรับจากสวนพี่เพ็ญไป  บริษัทเหล่านั้นจะไปขายต่อในราคาบวกเพิ่มอีก 100 - 200 บาท ... โอวววว  แพงน่าดูนะครับ   แต่นี่เป็นรายได้หลักของพี่เค้าเลยนะ  .... ส่วนรายได้อื่นๆ ก็ได้แก่  ขายผลไม้  ผลผลิตจากไร่  และพันธุ์ไม้  ครับ  อ่อ ...... กลุ่มนี้เขามีชื่อว่า  ชมรมสีสันชีวิตไทย  นำโดย  ลุงคิม  ซากัสส์  นะครับ
   ไม้ผลที่ปลูกในสวนวันเพ็ญ ได้แก่  ส้มโอ  เงาะ  ลำไย  ทุเรียน  มังคุด  มะไฟ  มะปราง  มะม่วง  และพืชอื่นๆ ได้แก่  มะนาว  มะละกอ  พริกไทย  พืชผักสมุนไพรชนิดต่างๆ  สรุปว่า  ฯลฯ  นะครับ  ผมคงไล่เรียงไม่หมด หากใครสนใจจะเดินทางไปเองก็เชิญได้ครับ  ใกล้ๆ กับกรุงเทพฯ  นี่เอง  เจ้าของสวนใจดีมากๆ  ใครใคร่กิน..กิน  ใครใคร่เก็บ ... เก็บ   แต่ที่สำคัญ  อย่าลืมอุดหนุนเจ้าของสวนบ้างซักเล็กน้อยนะครับ  เพื่อเป็นกำลังใจให้พี่ๆ เค้าได้พัฒนาสิ่งดีๆ ให้พวกเราได้ไปชมและขอความรู้กันอย่างเนือง
   ขาดไม่ได้สำหรับพระเอกของงาน  กับกระแสการบริโภคที่เปลี่ยนทิศทางมาสู่วิถีธรรมบาติยิ่งขึ้น  คือ การปลูกพืชผักผลไม้ปลอดสารพิษ  หรือ  ชีวภาพ  หรือ  อินทรีย์ชีวภาพ  โดยการงดใช้สารเคมี  และ หันมาใช้น้ำหมักชีวภาพแแทนสารเคมี  ใช้หลักการพึ่งพิงอาศัยกันตามธรรมชาติ

มื้อนี้อาหารอีสานล้วนๆ ครับ
   พวกเราใช้เวลาในสวนวันเพ็ญร่วมๆ 4 ชั่วโมง  จากนั้นเวลาประมาณ 13.40 น. ได้เดินทางออกจากสวน  เพราะได้รับการติดต่อจาก พี่วุฒิ  ซึ่งตอนนั้นเรายังไม่ทราบว่าท่านเป็นใคร  แต่รู้จักกันในห้องแชทได้ไม่กี่วัน  โดยมีพี่นิต  ซึ่งเฝ้าห้องแชททำหน้าที่ประสานงานให้พวกเราได้พบกัน ............ แต่ก่อนจะไปพบท่าน เวลาก็ปาเข้าจะบ่ายสองแล้วครับ  ขอแวะหาอะไรทานก่อน  ร้านชื่อว่า  แซ่บอีหลี  กินไปหลายอย่าง  แทบจะเหลือ  แต่เวลาจ่ายเงิน  รู้สึกจะห้าร้อยกว่าบาท  ไม่มีใครควักทัน.... พี่สมชายจ่ายไปแล้ว  ขอบพระคุณพี่สมชายนะครับ ที่เลี้ยงข้าวพวกเรามื้อนี้  แต่โอกาสหน้าคงได้เลี้ยงตอบแทนบ้าง  ....
    หลังจากทานข้าวเที่ยง (บ่ายสองโมง)  อิ่มเรียบร้อยกันแล้ว  เราก็เดินทางไปบ้านพี่วุฒิ  ซึ่งอยู่ใกล้ๆ ร้านอาหารไปนิดเดียวเองครับ  ท่านออกมานั่งรอรับพวกเราที่ปั๊มน้ำมันตราดาว  ใส่กางเกงขาสั้น  เสื้อหม้อฮ่อม  ท่าทางเป็นคนติดดิน  แบบชาวบ้านธรรมดาๆ ครับ  (ความคิดผม ณ เวลานั้น)
    ทราบภายหลังว่า  ท่านเป็นผู้อำนวยการศูนย์บริการวิชาการด้านพืชและปัจจัยการผลิต ของจังหวัดปราจีนบุรี  นับว่าเป็นโอกาสดีมากๆ ของพวกเราวันนี้ได้ของฝากของแถมเพียบครับ  ผอ.วุฒิ  นำชมสวนวอเตอร์เครส หลังบ้านซึ่ง ท่านปลูกผักอินทรีย์ชีวภาพ  ส่งให้กับโรงพยาบาลเจ้าพระยาอภัยภูเบศร  เป็นงานเสริมครับ....
   พวกเราใช้เวลาร่วมๆ 3 ชั่วโมง  ที่บ้านพี่วุฒิ  ได้พูดคุยแลกเปลี่ยน  และรับฟังคำแนะนำดีๆ สำหรับการทำเกษตร ซึ่งนับว่า  มีประโยชน์เป็นอย่างมาก  สำหรับสมาชิก  เพราะความรู้ทุกอย่างที่ได้  เชื่อว่า  สมาชิกแต่ละท่าน ต้องนำไปต่อยอดหรือนำไปใช้ประโยชน์ทั้งแก่ตัวเอง  และผู้อื่นได้  ไม่มากก็น้อย ......... เวลา 16.30 น. พวกเราก็ได้เวลาเดินทางกลับ  กรุงเทพฯ  กันแล้ว .... ถึงคราวต้องร่ำลา  แต่ทว่า  ของฝากไม่เคยลืม  อิ อิ  วันนี้พี่วุฒิให้ของฝากหลายอย่าง  อาทิ เช่น  ขนุน, วอเตอร์เครส, เมล็ดพันธุ์ข้าวฟ่าง, เมล็ดพันธุ์มะละกอ  ซึ่งสมาชิกได้รับกันถ้วนหน้า   จนปัจจุบัน  บางท่านได้เพาะปลูกจนประสบความสำเร็จบางแล้ว  แม้แต่ตัวผมก็ได้ลิ้มรสผักวอเตอร์เครสแล้วล่ะครับ  ..........
รวมภาพทัวร์ปราจีน  ครั้งที่ 1
 
มะม่วงพันธุ์ขาวนิยม  และ  มะม่วงพันธุ์มหาชนก
 
มะม่วงพันธุ์ อาร์ทู อีทู  และ  กล้วยประดับ
  
พี่ทักษ์  พี่เกิ้ล  และ พี่ดุ่ย  กับมะไฟพันธุ์อีดก

กำลังส่องนกส่องไม้  ส่องทุเรียน  ครับ

เดินดีๆ ห้ามแตกแถว

มะำไฟต้นเดิม  พันธุ์อีดก

ดกจริงๆ ครับ  ผมปืนต้นมะไฟถ่ายรูป

มีแต่สาวๆ ปีนเก็บมะไฟ  หนุ่มๆ ไม่มีเลย

สมาชิกสนใจวิธีตอนมะนาวพันธุ์แป้นรำไพ

มะนาวแป้นรำไพ

พี่สมชายกับมะไฟที่กำลังออกลูก

ปลูกหญ้าแฝกล้อมต้นส้มโอ  หลักพึ่งพาอาศัยกันของต้นไม้

น้ำเต้าสวยๆ

มะละกอแขกดำเนิน

มะนาวนี้ไม่ทราบพันธุ์  แต่ลูกดกมากๆ

ดอกแคแดง

ดอกแคขาว

ต้นกล้าทุเรียนหมอนทอง

มังคุดก็มีนะครับ

พี่ยศกับมะม่วงมหาชนก

ส้มจี๊ด  เปรี้ยวมากเลยครับ

มื้อเที่ยง  ที่ร้านแซ่บอีหลี

พี่ยศ  กับ  พี่แว่น  ท่าทางเอร็ดอร่อย

เงาะอ่อน  อีกหน่อยก็ได้กินแล้วครับ

หลังบ้านพี่วุฒิ  มีบวบ  มะละกอ  วอเตอร์เครส

ปูดำโตไคโตมัน  เพิ่งเริ่มหมักที่หลังบ้านพี่วุฒิ

แปลงวอเตอร์เครส

พี่วุฒิแนะนำวิธีปลูกและขายพันธุ์วอเตอร์เครส

ป้ายชื่อ  ให้รู้ว่าของจริง!!!!

ดาหลา  ก็มีนะ  สวยดี

นั่งคุยสบายๆ ก่อนเดินทางกลับบ้านกับพี่วุฒิ

ของฝากเต็มท้ายรถ  และยังมีบนหลังคาอีกครับ
 
 

Blogger