วันอาทิตย์ที่ 29 สิงหาคม พ.ศ. 2553

หลักแนวคิดของเศรษฐกิจพอเพียง

หลักแนวคิดของเศรษฐกิจพอเพียง

การพัฒนาตามหลักเศรษฐกิจพอเพียง คือ การพัฒนาที่ตั้งอยู่บนพื้นฐานของทางสายกลางและความไม่ประมาท โดยคำนึงถึง ความพอประมาณ ความมีเหตุผล การสร้างภูมิคุ้มกันที่ดีในตัว ตลอดจนใช้ความรู้ความรอบคอบ และคุณธรรม ประกอบการวางแผน การตัดสินใจและการกระทำ

ปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง

มีหลักพิจารณาอยู่ 5 ส่วน ดังนี้

กรอบแนวคิด เป็นปรัชญาที่ชี้แนะแนวทางการดำรงอยู่และปฏิบัติตนในทางที่ ควรจะเป็น โดย มีพื้นฐานมาจากวิถีชีวิตดั้งเดิมของสังคมไทย สมารถนำมาประยุกต์ใช้ได้ตลอดเวลา และเป็นการมองโลกเชิงระบบที่มีการเปลี่ยนแปลงอยู่ตลอดเวลา มุ่งเน้นการรอดพ้นจากภัย และวิกฤต เพื่อ ความมั่นคง และ ความยั่งยืน ของการพัฒนา
คุณลักษณะ เศรษฐกิจพอเพียงสามารถนำมาประยุกต์ใช้กับการปฏิบัติตนได้ในทุกระดับ โดยเน้นการปฏิบัติบนทางสายกลาง และการพัฒนาอย่างเป็นขั้นตอน
คำนิยาม ความพอเพียงจะต้องประกอบด้วย 3 คุณลักษณะ พร้อม ๆ กัน ดังนี้

ความพอประมาณ หมายถึง ความพอดีที่ไม่น้อยเกินไปและไม่มากเกินไปโดยไม่เบียดเบียนตนเองและผู้อื่น เช่นการผลิตและการบริโภคที่อยู่ในระดับพอประมาณ
ความมีเหตุผล หมายถึง การตัดสินใจเกี่ยวกับระดับของความพอเพียงนั้น จะต้องเป็นไปอย่างมีเหตุผลโดยพิจารณาจากเหตุปัจจัยที่เกี่ยวข้องตลอดจนคำนึง ถึงผลที่คาดว่าจะเกิดขึ้นจากการกระทำนั้น ๆ อย่างรอบคอบ
การมีภูมิคุ้มกันที่ดีในตัว หมาย ถึง การเตรียมตัวให้พร้อมรับผลกระทบและการเปลี่ยนแปลงด้านต่าง ๆ ที่จะเกิดขึ้นโดยคำนึงถึงความเป็นไปได้ของสถานการณ์ ต่าง ๆ ที่คาดว่าจะเกิดขึ้นในอนาคตทั้งใกล้และไกล

เงื่อนไข การตัดสินใจและการดำเนินกิจกรรมต่าง ๆ ให้อยู่ในระดับพอเพียงนั้น ต้องอาศัยทั้งความรู้ และคุณธรรมเป็นพื้นฐาน กล่าวคือ

เงื่อนไขความรู้ ประกอบ ด้วย ความรอบรู้เกี่ยวกับวิชาการต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องอย่างรอบด้าน ความรอบคอบที่จะนำความรู้เหล่านั้นมาพิจารณาให้เชื่อมโยงกัน เพื่อประกอบการวางแผน และความระมัดระวังในขั้นปฏิบัติ
เงื่อนไขคุณธรรม ที่จะต้องเสริมสร้างประกอบด้วย มีความตระหนักในคุณธรรม มีความซื่อสัตย์สุจริตและมีความอดทน มีความเพียร ใช้สติปัญญาในการดำเนินชีวิต

แนวทางปฏิบัติ/ผลที่คาดว่าจะได้รับ จาก การนำปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงมาประยุกต์ใช้ คือ การพัฒนาที่สมดุลและยั่งยืน พร้อมรับต่อการเปลี่ยนแปลงในทุกด้าน ทั้งด้านเศรษฐกิจ สังคม สิ่งแวดล้อม ความรู้และเทคโนโลยี

" ถ้าไม่มี เศรษฐกิจพอเพียง เวลาไฟดับ …
จะพังหมด จะทำอย่างไร. ที่ที่ต้องใช้ไฟฟ้าก็ต้องแย่ไป.
… หากมี เศรษฐกิจพอเพียง แบบไม่เต็มที่
ถ้าเรามีเครื่องปั่นไฟ ก็ให้ปั่นไฟ
หรือถ้าขั้นโบราณกว่า มืดก็จุดเทียน
คือมีทางที่จะแก้ปัญหาเสมอ.
… ฉะนั้น เศรษฐกิจพอเพียง นี้ ก็มีเป็นขั้น ๆ
แต่จะบอกว่า เศรษฐกิจพอเพียง นี้
ให้พอเพียงเฉพาะตัวเองร้อยเปอร์เซ็นต์ นี่เป็นสิ่งที่ทำไม่ได้.
จะต้องมีการแลกเปลี่ยน ต้องมีการช่วยกัน.
…… พอเพียงในทฤษฎีหลวงนี้ คือให้สามารถที่จะดำเนินงานได้. "

พระราชดำรัสเนื่องในโอกาสวันเฉลิมพระชนพรรษา 23 ธันวาคม 2542

การติดตา

การติดตา



การติดตา

คือ การ เชื่อมประสานส่วนของต้นพืชเข้าด้วยกัน เพื่อให้เจริญเป็นพืชต้น เดียวกัน โดยการนำแผ่นตาจากกิ่งพันธุ์ดี ไปติดบนต้นตอ การติดตาจะมีวิธีการทำ 2 วิธี คือ วิธีการติดตาแบบลอกเนื้อไม้ และแบบไม่ลอกเนื้อไม้ ซึ่งในทีนี้จะแนะนำเฉพาะขั้นตอน การติดตาแบบลอกเนื้อไม้ ดังนี้

1. เลือกต้นตอในส่วนที่เป็นสีเขียวปนน้ำตาล แล้วกรีดต้นตอจากบนลงล่าง 2 รอย ห่างกันประมาณ 1 ใน 3 ของเส้นรอบวงของต้นตอ ความยาวประมาณ 6 - 7 เซนติเมตร
2. ตัดขวางรอยกรีดด้านบน แล้วลอกเปลือกออกจากด้านบนลงด้านล่าง ตัดเปลือก ที่ลอกออกให้เหลือด้านล่างยาวประมาณ 1 เซนติเมตร
3. เฉือนแผ่นตายาวประมาณ 7 - 10 เซนติเมตร ลอกเนื้อไม้ออกแล้วตัดแผ่นตา ด้านล่างทิ้ง
4. สอดแผ่นตาลงไปในเปลือกต้นตอ โดยให้ตาตั้งขึ้น แล้วพันด้วยพลาสติกให้แน่น
5. ประมาณ 7 - 10 วัน จึงเปิดพลาสติกออก แล้วพันใหม่ โดยเว้นช่องให้ตาโผล่ ออกมา ทิ้งไว้ประัมาณ 2 - 3 สัปดาห์ จึงตัดยอดต้นเดิมแล้วกรีดพลาสติกออก

การตอนกิ่ง

การตอนกิ่ง
การตอนกิ่ง
คือ การทำให้กิ่งหรือต้นพืชเกิดรากขณะติดอยู่กับต้นแม่ จะทำให้ได้ต้นพืชใหม่ ที่มีลักษณะทางสายพันธุ์ เหมือนกับต้นแม่ทุกประการ โดยมีขั้นตอนการปฏิบัติ ดังนี้

1. เลือกกิ่งกึ่งแก่กึ่งอ่อนที่สมบูรณ์ปราศจากโรคและแมลง
2. ควั่นกิ่ง ลอกเอาเปลือกออก แล้วขูดเยื่อเจริญที่เป็นเมือกลื่น ๆ ออก
3. นำตุ้มตอน (ขุยมะพร้าวที่แช่น้ำ แล้วบีบหมาด ๆ อัดลงในถุงพลาสติก ผูกปากถุงให้แน่น) มาผ่าตามความยาวแล้วนำไปหุ้มบนรอยแผลของกิ่งตอน มัดด้วยเชือกทั้งบนและล่างรอยแผล
4. เมื่อกิ่งตอนมีรากงอกแทงผ่านวัสดุ และเริ่มแก่เป็นสีเหลือง สีน้ำตาล ปลายรากมีสีขาว และมีจำนวนมากพอจึงตัดกิ่งตอนได้
5. นำกิ่งตอนไปชำในภาชนะ กระถางหรือถุงพลาสติก เพื่อรอการปลูกต่อไป

การทาบกิ่ง

การทาบกิ่ง


การทาบกิ่ง

คือ การนำต้นพืช 2 ต้นเป็นต้นเดียวกัน โดยส่วนของต้นตอที่นำมาทาบกิ่ง จะทำหน้าที่เป็นระบบรากอาหารให้กับต้นพันธุ์ดี โดยมีขั้นตอนการปฏิบัติ ดังนี้

1. เลือกกิ่งกึ่งแก่กึ่งอ่อนที่สมบูรณ์เพศปราศจากโรคและแมลง
2. เฉือนกิ่งพันธุ์ดีให้เป็นรูปโล่ยาวประมาณ 1 - 2 นิ้ว
3. เฉือนต้นตอเป็นรูปปากฉลาม
4. ประกบแผลต้นตอเข้ากับกิ่งพันธุ์ดี พันพลาสติกให้แน่น แล้วมัดต้นตอ กับกิ่งพันธุ์ด้วยเชือกหรือลวด
5. ประมาณ 6 - 7 สัปดาห์ แผลจะติดกันดี รากตุ้มต้นตอจะงอกแทงผ่านวัสดุ และเริ่มมีสีน้ำตาล ปลายรากมีสีขาว และมีจำนวนมากพอ จึงจะตัดได้
6. นำลงถุงเพาะชำ พร้อมปักหลังค้ำยัน ต้นเพื่อป้องกันต้นล้ม

การทาบกิ่ง

การทาบกิ่ง


การทาบกิ่ง

คือ การนำต้นพืช 2 ต้นเป็นต้นเดียวกัน โดยส่วนของต้นตอที่นำมาทาบกิ่ง จะทำหน้าที่เป็นระบบรากอาหารให้กับต้นพันธุ์ดี โดยมีขั้นตอนการปฏิบัติ ดังนี้

1. เลือกกิ่งกึ่งแก่กึ่งอ่อนที่สมบูรณ์เพศปราศจากโรคและแมลง
2. เฉือนกิ่งพันธุ์ดีให้เป็นรูปโล่ยาวประมาณ 1 - 2 นิ้ว
3. เฉือนต้นตอเป็นรูปปากฉลาม
4. ประกบแผลต้นตอเข้ากับกิ่งพันธุ์ดี พันพลาสติกให้แน่น แล้วมัดต้นตอ กับกิ่งพันธุ์ด้วยเชือกหรือลวด
5. ประมาณ 6 - 7 สัปดาห์ แผลจะติดกันดี รากตุ้มต้นตอจะงอกแทงผ่านวัสดุ และเริ่มมีสีน้ำตาล ปลายรากมีสีขาว และมีจำนวนมากพอ จึงจะตัดได้
6. นำลงถุงเพาะชำ พร้อมปักหลังค้ำยัน ต้นเพื่อป้องกันต้นล้ม

กิจกรรมท่องเที่ยวเชิงเกษตร จ.กาญจนบุรี (ไร่กล้อมแกล้ม)

กิจกรรมท่องเที่ยวเชิงเกษตร จ.กาญจนบุรี (ไร่กล้อมแกล้ม)

กิจกรรมท่องเที่ยวครั้งที่ 3 จัดขึ้น 14 มิถุนายน 2551 ผมได้มีโอกาสเดินทางกับสมาชิก ชุมชนเกษตรพอเพียง (ออนไลน์) ไปชมไร่กล้อมแกล้ม (ไม่ใช่ก้อมแก้ม) อ.ท่ามะกา จ.กาญจนบุรี เพื่อไปดูระบบการจัดการเรื่องน้ำ การวางระบบท่อ การดูแลรักษาต้นไม้ การให้ปุ๋ย รวมทั้งดูสูตรการผลิตปุ๋ยแบบชีวภาพต่างๆ เห็นว่ามีประโยชน์ก็นำมาเล่าสู่กันฟัง ...

ซึ่งการเดินทาง ในครั้งนี้ ต้องขอขอบพระคุณพี่สมชาย กลิ่นมะพร้าว ที่ช่วยติดต่อประสานงานกับลุงคิม ซากัสส์ และติดต่อกับ ลุงอนันต์ เจ้าของไร่มะนาวที่ไทรโยค ทำให้พวกเราได้ มีโอกาสเข้าเยี่ยมชมไร่ ที่ถือว่าเป็นแบบอย่าง ในเรื่องการทำเกษตรชีวภาพ... และยังเป็นตัวอย่างที่ดีสำหรับหลายๆ ท่านนำำไปปฏิบัติ จนเกิดผลที่น่าพึงพอใจ ดังเช่น สวนวันเพ็ญ จ.ปราจีนบุรี

เช้าวันนี้การเดินทางสดชื่นมากๆ เพราะฝนได้ตก ตั้งแต่ตอนเช้ามืด ทำให้อากาศเย็นสบาย ไม่ร้อน รวมสมาิชิกที่รวมเดินทางด้วยกันครั้งนี้ จำนวน 9 ท่าน โดยใช้รถตู้ปรับอากาศแบบเหมาเที่ยว เฉลี่ยค่าใช้จ่าย ต่อคนแล้ว 500 บาทครับ เส้นทางวิ่งไปถึง อ.ไทรโยค จ.กาญจบุรี เลยครับ .... การเดินทางในแต่ละเที่ยว จะเดินทางแบบเช้าไป เย็นกลับ และจะจัดในวันหยุดเสาร์ - อาทิตย์ แต่ที่ผ่านมา จะจัดกันในวันอาทิตย์ครับ เพราะหลายๆ ท่าน วันเสาร์ยังต้องทำงานกันครึ่งวัน ...


บ่อน้ำขนาด ประมาณ 15 x 20 เมตร หัวใจหลักของที่นี่ ที่หล่อเลี้ยงสวนประมาณ 18 ไร่ แต่น้ำทั้งหมด มาจากคลองชลประทานขนาดเล็ก เลยไม่ต้องห่วงว่าน้ำจะแห้งเมื่อสูบไปใช้ในสวนหมด


ไร่กล้อมแกล้ม ใช้ปั๊มน้ำขนาด 2 แรง เพียงตัวเดียว เป็นกำลังหลักสำคัญ ในการสูบน้ำกระจายไปหล่อเลี้ยงต้นไม้ จำนวนกว่า 18 ไร่ โดยระบบการวางท่อน้ำอย่างดี


พี่ดวงพร สมาชิกใหม่ที่ร่วมเดินทางในครั้งนี้

เมื่อน้ำวิ่งออกจากปั๊มสูบน้ำ... จะถูกจ่ายไปยังส่วนต่างๆ ของไร่ ที่ถูกแบ่งออกเป็นโซน โดยใช้วาล์วน้ำ ปิดเปิด แยกโซนออกจากกัน จึงง่ายต่อการให้น้ำและปุ๋ย ไม่ต้องเปลืองแรงงาน


ระบบน้ำไร่กล้อมแกล้ม จะแยกโซนออกไปอย่างชัดเจน ตัวอย่างในภาพเป็นสวนกล้วย แต่ที่เห็นใบมะพร้าวกำลังล้อมไว้นั้นได้แก่ มังคุด ทุเรียน เพราะต้องกันแสงแดดที่เผาไหม้


สมาชิกทั้งสามท่าน ดูสดใสร่าเริงเ็ป็นพิเศษ
สภาพสตรีทั้งสองเป็นสมาชิกใหม่ที่ร่วมเดินทางในวันนี้


ไร่กล้อมแกล้ม มีทางเดินชมสวน และซุ้มฟักชนิดต่างๆ ก็เป็นจุดขายที่น่าชมไม่เบานะครับ


สาวๆ เห็นฟักลูกใหญ่ ชอบใจกันจริงๆ ครับ นึกถึงแกงจืดทันทีเลย.... เมนูเด็ด!!!


ผมเพิ่งเคยเห็นครั้งแรก ไม่นึกว่าดอกแก้วมังกรจะดอกใหญ่และสวยงามเช่นนี้
เมื่อก่อนเคยเห็นแค่ดอกตะบองเพชร ดอกเล็กๆ แต่ดอกแก้วมังกรสวยและใหญ่กว่าหลายเท่า


ภาพดอกแก้วมังกร สวยไหม???


ในขณะที่พี่ๆ ทั้งหลายเดิมตามเจ้าของไร่ ผมก็แตกแถวไปเรื่อยเพื่อเก็บภาพ โชคดีเจอกับคนงานในไร่กำลังตัดแก้วมังกร เลยถือโอกาสถ่ายภาพสวยๆ วิธีตัดแก้วมังกรมาให้ชมกัน


แก้วมังกรสดๆ จากไร่ ลูกนี้น้ำหนักราวๆ 350-400 กรัม ครับ


มาเที่ยวไร่กล้อมแกล้มทั้งที มีของดีๆ ทานแน่ครับ แก้วมังกรเนื้อขาว เพิ่งตัดมาตะกี้เองนะ
สมาชิกหลายๆ คน ชอบใจทานไปคนละลูก ส่วนผมไม่ค่อยชอบ เลยขอแค่ซีกเดียว


ช่วงที่เราไปเที่ยวไร่กล้อมแกล้ม ผลผลิตที่กำลังงอกงามก็คือ แก้วมังกรนี่แหละครับ
แต่ผมสังเกตเห็นว่า พื้นดินของไร่กล้อมแกล้มส่วนที่ปลูำกแก้วมังกร ด้านล่างเต็มไปด้วยกาบมะพร้าว


นาข้าว ข้างๆ ไร่กล้อมแกล้ม กำลังจะให้ผลผลิต เห็นแล้วชื่นใจ นึกถึงทุ่งนาของตัวเองจัง...


ไร่กล้อมแกล้ม มุมมองกว้างๆ ถ่ายจากท้ายไร่ไปหาหน้าไร่ครับ สวยทีเดียว
ภาพที่เห็นใกล้ๆ คือ ต้นมะม่วงชนิดต่างๆ ที่วางระบบน้ำไว้เรียบร้อยหมดแล้วครับ


พี่แว่น กำลังมองดูระบบการให้ปุ๋ย โดยผ่านไปพร้อมๆ กับระบบน้ำ ด้วยความสนใจ


ไร่กล้อมแกลม จะทำระบบน้ำแบบสปริงเกอร์ทั้งบน และ ล่าง เพื่อให้น้ำได้ 2 แบบ คือ
ให้น้ำจากด้านบน (คล้ายฝนตก) และ ให้น้ำในระดับล่าง หรือ ผิวดิน


กล้วยน้ำว้า สดๆ จากไร่ งานนี้พวกเราได้รับฝากมา 2 เครือใหญ่ๆ ครับ
วิธีดูกล้วยน้ำว้า ว่าแก่หรือไม่ ให้ดูที่จุด และเหลี่ยมด้านข้างลูกกล้วยนะครับ ถ้ายังเหลี่ยมจัดแสดงว่า กล้วยอ่อนและยังไม่แก่ เพราะกล้วยที่ขายใ่นเมืองกรุงส่วนมาจะเป็นกล้วยบ่มแก๊ส


สาวๆ กำลังสนุกกับการเก็บพริกขี้หนู ช่วยกันคนละไม้ละมือ เย็นนี้น้ำพริกกะปิ ปลาทูทอด ผักลวก
ถ้ามากลางคืน เรียก เพลี้ยกระสอบ ... เพลี้ยชนิดนี้จะทำความเสียหายให้พริกเป็นอันมาก .. อิ อิ


ที่ไร่กล้อมแกล้ม ปลูกไม้ผลหลายชนิด ในภาพนี้คือ ส้มเช้ง กำลังเริ่มแก่พอดี ไม่ค่อยมีเยอะครับ แต่ผมก็พยายามถ่ายภาพให้สวยที่สุด ...


ระบบน้ำของไร่กล้อมแกล้ม ชมเอาเองนะครับ ผมไม่ขอบรรยาย


หลังจากชมสวนแล้ว พวกเราก็เข้ามาชมในส่วนของโรงปุ๋ยหมักชีวภาพบ้าง... ที่นี่ทำเป็นโกดังย่อยๆ เลย


ถังหมักปุ๋ยน้ำชีวภาพสูตรต่างๆ ถัง 200 ลิตร มีหลายสิบถัง
ซึ่งแต่ละถังต่างก็หมักปุ๋ยชีวภาพเตรียมไว้ใช้ในไร่ กลิ่นไม่เหม็นนะ ดมดูสิ...


ถังนี้หมักฮอร์โมนไข่ ซึ่งกำลังได้ที่พอดี กลิ่นหอมโชยเลยล่ะ (ฮอร์โมนไข่สูตรดั้งเดิม)


ถังนี้ก็ ฮอร์โมนไข่สูตรซุปเปอร์ มีการเติมแต่งสีเข้าไปให้ดูสวยงาม
พร้อมทั้ง
เติมธาตุอาหารรอง และเสริม เข้าไปด้วย


ปุ๋ยดำ หรือ ไบโออิ สูตรเด็ดของไร่ (พอดีเพิ่งปั่นๆ เสร็จ เลยเหมือนกาแฟชงใหม่ๆ )


ฮอร์โมนไข่ สีอาจแตกต่างกันออกไปบ้าง เพราะเติมธาตุอาหารรอง/เสริมลงไปด้วย


ถังหมักไขกระดูกสันหลังวัว ซึ่งหาได้ยากมาก ถังนี้หมักมาแล้วเกือบๆ 1 ปี จึงไม่มีกลิ่นเหม็น


ก่อนออกจากไร่ ก็เก็บภาพบ่อน้ำในไร่กล้อมแกล้ม
ก่อนที่พวกเราจะเดินทางไป อ.ไทรโยค จ.กาญจนบุรี เพื่อชมไร่มะนาวของลุงอนันต์กันต่อครับ


เหนื่อยนักก็พักกันเสียก่อน พวกเราเดินทางโดยรถตู้ งานนี้แชร์ค่าใช้จ่าย ไม่ได้จัดเพื่อหวังกำไร
พี่แว่นหลับพักเอาแรง ก่อนไปลุยที่ไร่มะนาวต่อครับ


ไร่ลุงอนนันต์ เป็นไร่มะนาวเพิ่งจะเริ่มปลูก อายุแค่ 9 เดือน แต่ระบบการจัดการเรื่องปุ๋ย น้ำ การระวังป้องกันโรคในมะนาว สามารถทำได้เป็นแบบอย่างที่ดี


ไร่มะนาวลุงอนันต์ ใ้ช้สปริงเกอร์เพียง 1 ตัว สูบน้ำจากแม่น้ำแควน้อย ซึ่งอยู่ข้างๆ ไร่มารดน้ำได้อย่างสบาย โดยไม่ต้องกลัวว่าน้ำจะหมด เห็นแล้วอิจฉา ... เพราะมีน้ำใช้ตลอดทั้งปี


ลุงอนันต์ (ผ้าขาวม้าคาดเอว) เจ้าของไร่มะนาว กำัลังอธิบายถึงวิธีป้องกันโรคแครงเกอร์ ที่มักเกิดกับมะนาวให้พวกเราฟัง รวมถึงวิธีการทำให้มะนาวออกนอกฤดู ว้าววว...งานนี้คุ้มจริงๆ


แม้มะนาวจะปลูกไม่ถึง 1 ปี แต่ด้วยการดูแลรักษาอย่างดี ทำให้มะนาวเหล่านี้สูงท่วมหัวแล้วครับ


กำลังสำคัญในการสูบน้ำจากแม่น้ำแควน้อย (สูบจากที่ลุ่ม) เป็นปั๊มน้ำขนาด 2 แรงครับ


ก่อนจะจบหน้านี้ ผมขอสักภาพนะครับ ถ่ายกับพี่ดวงพร ข้างแม่น้ำแควน้อย อ.ไทรโยค จ.กาญจนบุรี
ณ ไร่มะนาวของคุณลุงอนันต์ ... มีโอกาสพวกเราจะไปเยี่ยมอีกนะครับ...

 
 

Blogger